วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์



Central Processing Unit (CPU) หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู)
หน่วยเก็บที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นหน่วยสำคัญที่สุดเปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของหน่วยต่างๆ ให้ทำงานประสานสอดคล้องกัน หน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนโดยประกอบรวมกันอยู่บนชิปเล็กๆ เพียงชิ้นเดียว เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) ส่วนต่างๆ เหล่านี้ได้แก่
1. หน่วยเรจิสเตอร์ (Register) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่ส่งจากหน่วยความจำหลักและข้อมูลที่จะนำไปใช้ประมวลผล
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit : ALU) ทำหน้าที่ประมวลผลด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ
3. หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทุกส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ส่วนรับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง และส่วนแสดงผล ให้ทำงานสอดคล้องกัน ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket)
คือ อุปกรณ์สำหรับติดตั้ง CPU ซึ่งแตกต่างกันไปตามรุ่นหรือยี่ห้อ สำหรับรุ่นที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 5 แบบ
1. Socket 478
2. LGA 775
3. Socket A (462)
4. Socket 754
5. Socket 939 ชิปเซต (Chip Set)
คือ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่
- North Bridge Chip Set ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลของซีพียู และแรม
- South Bridge Chip Set ควบคุมสล็อต การ์ดอื่น และอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด
เมนบอร์ด (mainboard) หรือ มาเธอร์บอร์ด (motherboard)
คือ แผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ หรือ แผงวงจรหลักที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นกลางทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานร่วมกันได้ และเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมอุปกรณ์อื่นไม่ว่าจะเป็น CPU , RAM , HDD, CD-ROM , FDD VGA CARD เป็นต้น เมนบอร์ดแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะสนับสนุนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ไม่เหมือนกัน
สำหรับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทั่วไปจะประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง, ไบออส และหน่วยความจำหลัก พร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้
ในบางประเทศ โดยเฉพาะในโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล นิยมใช้ศัพท์แสลงเรียกเมนบอร์ดว่า mobo (โมโบ) โดยเป็นคำย่อจาก motherboard
หน่วยความจำ (Memory)
Read-Only Memory (ROM) หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (รอม)
หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บคำสั่งไว้อย่างถาวรและยังคงมีคำสั่งเหล่านี้เก็บอยู่ ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องแล้วก็ตาม รอมจะบรรจุโปรแกรมระบบที่สำคัญไว้โดยที่เราหรือคอมพิวเตอร์เองก็ไม่สามารถลบทิ้งได้ทั้งนี้เพราะเป็นชิปที่ผู้ผลิตได้บรรจุคำสั่งไว้อย่างถาวร เนื่องจากหน่วยความจำภายในของคอมพิวเตอร์จะว่างเปล่า เมื่อมีการเปิดเครื่อง จึงทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานใดๆ ได้ถ้าไม่ให้คำสั่งในการเริ่มต้น ซึ่งคำสั่งเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในรอมนั่นเอง
Random-Access Memory (RAM) หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (แรม)
หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า แรม เป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บคำสั่งและข้อมูล เพื่อสามารถเข้าถึงโดยตรงในการควบคุมการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง โดยผ่านทางบัสข้อมูลภายนอกความเร็วสูง ชื่อแรมมักจะเรียกว่าหน่วยความจำอ่าน/บันทึกเพื่อเป็นการแบ่งแยกจากหน่วยความจำอ่านอย่างเดียวหรือรอม (ROM) ซึ่งเป็นส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่งของหน่วยเก็บหลัก (primary storage) ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ในแรมนี้เองที่หน่วยประมวลผลกลางสามารถบันทึกและอ่านข้อมูล โปรแกรมส่วนมากจะจัดส่วนของแรมไว้ต่างหากเพื่อเป็นเนื้อที่ทำงานชั่วคราวสำหรับข้อมูลของเรา เพื่อที่เราจะสามารถบันทึกทับใหม่ได้เท่าที่ต้องการจนกว่าข้อมูลนั้นจะถูกนำไปพิมพ์หรือเก็บในหน่วยเก็บรอง (secondary storage) เช่น จานบันทึกแบบแข็งหรือแผ่นบันทึก ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในแรมจะหายไปได้เมื่อมีการปิดเครื่องหรือเมื่อกระแสไฟดับ ดังนั้นเราจึงต้องเก็บบันทึกงานที่ทำอยู่ตลอดเวลาและก่อนที่จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล
ฮาร์ดดิคส์ (Harddisk)
ฮาร์ดดิคส์ เรียกอีกอย่างว่า Fix Disk เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทหนึ่ง (Storage Device) ปัจจุบันเป็นอุปกรณ์ ที่จำเป็น และ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ใช้ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการลงโปรแกรม ประยุกต์และ เก็บข้อมูลของผู้ใช้ เนื่องจากโปรแกรม หรือข้อมูลในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถที่จะเก็บ ลงในแผ่นดิสเก็ต ได้หมด ฮาร์ดดิสค์ จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปภายใน ซึ่งถ้าต้อง การเปิดออกจะต้อง เปิดในห้องเรียก clean room ที่มีการกรองฝุ่นละออกจากอากาศเข้าไปในห้อง ออกแล้ว ฮาร์ดดิสค์ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เป็นแบบติดภายในเครื่องไม่ เคลื่อนย้ายเหมือนแผ่นดิสเก็ต ดิสค์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ดิสค์วินเชสเตอร ์(Winchester Disk)
ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk)
แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ แผ่นดิสเก็ตต์ เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก. โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลม, เก็บอยู่ในตัวป้องกันพลาสติกรูปสี่เหลี่ยม. คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางช่องฟลอปปีดิสก์ (ฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ).
การ์ดแสดงผล (Display Card)
(อังกฤษ: graphic adaptor หรือ graphics card, video card, video board, video display board, display adapter, video adapter แล้วแต่จะเรียก) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล (มักเป็นจอภาพ)
การ์ดแสดงผลสมัยเก่าทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GPU (Graphic Processing Unit) โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก
ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลจำนวนมากไม่อยู่ในรูปของการ์ด แต่จะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน วงจรแสดงผลเหล่านี้มักมีความสามารถด้านสามมิติค่อนข้างจำกัด แต่ก็เหมาะสมกับงานในสำนักงาน เล่นเว็บ อ่านอีเมล เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถด้านสามมิติสูง ๆ เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในรูปของการ์ดที่ต้องเสียบเพิ่มเพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสามมิติที่สมจริง ในทางกลับกัน การใช้งานบางประเภท เช่น งานทางการแพทย์ กลับต้องการความสามารถการแสดงภาพสองมิติที่สูงแทนที่จะเป็นแบบสามมิติ
เดิมการ์ดแสดงผลแบบสามมิติอยู่แยกกันคนละการ์ดกับการ์ดแบบสองมิติและต้องมีการต่อสายเชื่อมถึงกัน เช่น การ์ด Voodoo ของบริษัท 3dfx ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสามมิติมีความสามารถเกี่ยวกับการแสดงผลสองมิติในตัว
Compact Disc (CD) แผ่นซีดี (ซีดี)
แผ่นพลาสติกกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว (12 เซ็นติเมตร) ที่บันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ บันทึกข้อมูลด้วยสัญญาณดิจิทัลในรูปแบบซีแอลวี (CLV) แผ่นซีดีเป็นมาตรฐานที่พัฒนาร่วมกันโดยบริษัทโซนี และบริษัทฟิลิปส์ มีการประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 1980 และจัดอยู่ในมาตรฐานเรดบุ๊ก (Red Book) ซีดี (CD)
ซีดีเสียง หรือ ซีดีเพลง หรือ ออดิโอซีดี (audio CD) เก็บสัญญาณเสียงในรูปแบบที่เป็นไปตามมาตรฐานเรดบุ๊ค (red book) ซีดีเสียงประกอบด้วยแทร็คสเตอริโอหลายแทร็ค ที่เก็บโดยการเข้ารหัสแบบ PCM ขนาด 16 บิตด้วยอัตราการสุ่มตัวอย่าง 44.1 kHz
คอมแพคดิสค์มาตรฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 120 มิลลิเมตร แต่มีรุ่นขนาด 80 มิลลิเมตรอยู่ในรูปการ์ดขนาดเท่านามบัตรหรือเป็นรูปวงกลม แผ่นดิสค์ขนาด 120 มิลลิเมตร สามารถบันทึกเสียงได้ 74 นาที แต่มีรุ่นที่สามารถบันทึก 80 หรือ 90 นาทีด้วย แผ่นดิสค์ขนาด 80 มิลลิเมตร ใช้เป็นแผ่นซีดีซิงเกิล หรือใช้เป็นนามบัตรประชาสัมพันธ์ เก็บเสียงใช้เพียงแค่ 20 นาที ดีวีดี (DVD; Digital Video Disc)
เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า
เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด
เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี (DVD Writer) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี
การ์ดการ์ด (Sound Card) [
reference]
คือ อุปกรณ์ที่ใช้สร้างเสียง ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ต้องการทำเป็น Home Theater Sound Card ในปัจจุบันจะสนับสนุนการต่อลำโพง 4 ตัว Card บางตัวยังมีตัวถอด รหัส Dolby Digital ซึ่งเป็นมาตรฐานของระบบเสียงรอบทิศทางที่ ใช้ในภาพยนตร์ และยังสนับสนุนการสร้างเสียง 3 มิติ เพื่อสร้างความ สมจริงในการเล่น เกมส์อีกด้วย เมื่อก่อน Sound Card จะติดตั้งบน ISA Slot แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้ PCI Slot ซึ่งทำให้ทำงาน ได้เร็วขึ้น และใช้การทำงานของ CPU น้อยลง เพิ่ม Function การทำงานได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกลงมากด้วย
เสียงเป็นส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพ ดังนั้นการ์ดเสียง จึงเป็นอุปกรณ์จำเป็นที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย การ์ดเสียง ได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อ ให้ได้ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยนน้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิต ิในปัจจุบัน
จอภาพ (Monitor)
จอภาพจะเป็นทั้งหน่วยรับข้อมูล(Input) และ หน่วยแสดงข้อมูล (Output) ซึ่งจะแสดง ทั้งตัวอักษรและภาพ โดยจะรับสัญญาณมาจากแผงวงจร Video Graphic Array (VGA Card)
เคส (Case)
คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่จำหน่ายติดมากับเคส พาวเวอร์ซัพพลาย จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบ AT และ ATX ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ตัวเคส และ เมนบอร์ดที่ผู้ซื้อต้องการใช้ จะมีวิธีการเลือก หรือ การดูแลรักษา การแก้ไขเป็นอย่างไร ดูได้จากในบทต่อไป
ตัวถัง คือรูปร่างของคอมพิวเตอร์ซึ่งมีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมใช้สำหรับเก็บรวบรวมชิ้นส่วน ที่เป็นส่วนประกอบของ เครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ภายในกล่อง ตัวถังจะประกอบด้วย สวิทซ์ต่าง ๆ ได้แก่ สวิทซ์ ปิด/เปิด ปุ่ม Reset ช่อง สำหรับติดตั้ง Floppy Disk เครื่องเล่น CD-ROM ซึ่งด้านหลังจะมีช่องสำหรับเสียบอุปกรณ์พ่วงต่าง ๆ
เมาส์ (Mouse)
เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือ แบบทางกลและแบบใช้เแสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ เมาส์แบบทางกลนี้มีโครงสร้างที่ออกแบบได้ง่าย มีรูปร่างพอเหมาะมือ ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถล สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของเมาส์และจอภาพ เมาส์แบบใช้แสงอาศัยหลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ (mouse pad)
คีย์บอร์ด หรือแป้นพิมพ์ (Keyboard)
เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น
การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
คียบอร์ด สำหรับคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ถอดแบบมาจาก แป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด คีย์บอร์ดถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูล เป็นตัวอักษรเพื่อส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล และรวมทั้งการควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ โดยปกติรูปทรงของคียบอร์ดมักจะเป็นลักษณะสี่เหลียมผืนผ้า หรือใกล้เคียง
แนะนำเว็บ (Web Guides)
- กิดานันท์ มลิทอง , รศ.ดร.
http://www.cybered.co.th/library/01.htm
- อุปกรณ์สวย http://www.microsoft.com/hardware/default.mspx
- องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ http://project.cs.kku.ac.th/2545/project/g16/member/hardware.php
- บทเรียนเรื่อง ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ http://www.cybered.co.th/warnuts/wbi/wbi2/web/menu1.htm
- ราคา http://www.atshop.com/product_catalog.php?cat_id=28
- ความหมายแป้นพิมพ์ http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-6246.html
- คลังความรู้บนเว็บ http://www.school.net.th/library/new/index.htm
- องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ http://yalor.yru.ac.th/~nipon/bnipon/contant9_2.htm
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ http://courseware.kbu.ac.th/EL/basic_computer/chapter/1/lesson1-9.htm
- สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

สื่งประดิษฐ์


สิ่งประดิษฐ์เลิศสุดของปี วีรกร ตรีเศศ

TIME’s Best Inventions of 2008The Best Inventions of the Year
นิตยสาร Time ฉบับ 10 พฤศจิกายน 2008 ได้รวบรวมสิ่งประดิษฐ์เลิศสุด 50 ชิ้นของปีไว้อย่างน่าสนใจ ขอนำบางสิ่งประดิษฐ์มาเล่าสู่กันฟัง
อันดับหนึ่งที่นิตยสารนี้ให้เป็นเลิศสุดคือสิ่งประดิษฐ์ชื่อ “23 and Me” ซึ่งเป็นชุดตรวจสอบ DNA จากน้ำลายในราคาชุดละ 399 เหรียญสหรัฐ เครื่องตรวจนี้จะให้ผลของการตรวจจาก 600,000 จุดของ DNA พร้อมกับการตีความ
มนุษย์ทุกคนมี DNA ในแต่ละเซลล์ยาว 1.3 เมตร บรรจุข้อมูล 3 พันล้านข้อมูล โดยทำหน้าที่เสมือนคอมพิวเตอร์สั่งให้ร่างกายแต่ละคนทำงาน สิ่งซึ่งประกอบกันเป็น DNA ก็คือ โครโมโซมโดยมียีนส์บนโครโมโซมเป็นตัวบอกบทให้ร่างกายทำงาน
อย่างไรก็ดีแต่ละคนมี DNA หรือยีนส์ที่แตกต่างกันออกไป บางคนมียีนส์บางตัวบกพร่อง จนทำให้มีโอกาสเกิดความเจ็บป่วยขึ้นในอนาคต หรือมีโอกาสที่อวัยวะบางส่วนไม่ทำงานเป็นปกติ
ปัจจุบันมนุษย์ทำแผนที่ DNA สำเร็จแล้ว กล่าวคือรู้มากพอควรว่ายีนส์ตัวใดบนโครโมโซมตัวใดที่เป็นตัวสั่งให้ระบบ หรืออวัยวะส่วนใดทำงาน ดังนั้นการตรวจยีนส์ที่อยู่ในตำแหน่งที่รู้ว่าเป็นคำสั่งให้ทำงานอะไร จึงช่วยให้รู้ว่าร่างกายจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคอะไรหรืออวัยวะใดมีโอกาสทำงานบกพร่อง
เล่ามาถึงตรงนี้ หลายคนอาจบอกว่าไม่อยากรู้ แต่หลายคนก็อยากรู้เพื่อเตรียมตัวแก้ไขปัญหาหรือเตรียมรับมือกับมันได้ถูกต้อง และอาจบอกว่าเมื่อไม่อยากรู้ก็อย่าไปตรวจมันซิ จุดนี้แหละเป็นประเด็นอื้อฉาวของเครื่องมือนี้ นักวิจัยหลายคนเห็นว่า การตีความยังไม่ถูกต้องทั้งหมด การได้รับข้อมูลจากการตีความที่อยู่บนพื้นฐานของการตรวจ อาจทำให้เกิดความทุกข์โดยไม่จำเป็น และเป็นความทุกข์ที่ไม่เข้าท่า อีกทั้งเป็นข้อมูลส่วนตัวที่ไม่ควรให้ใครได้รู้วาตนเป็นอย่างไร และจะเป็นอะไรในอนาคต
ไม่ว่าจะวิจารณ์กันอย่างไร เครื่องมือนี้ก็ออกมาขายแล้วให้บุคคลซื้อหามาได้และเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเมื่อก่อนนี้เฉพาะแวดวงนักวิจัยเท่านั้นที่เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ถ้าใครใจไม่ถึงอย่าไปตรวจเป็นอันขาด ถ้าอยากรู้ว่าทำไมทำให้เป็นทุกข์ได้กรุณาอ่านตัวอย่างต่อไปนี้
การตรวจ DNA หรือยีนส์จาก “23 and Me” นี้ จะให้ข้อมูลหลายลักษณะเช่น
(1) มีความเป็นไปได้สูงกว่า หรือต่ำกว่าโดยเฉลี่ยที่จะมีอายุถึง 100 ปี
(2) มีความเสี่ยงสูงหรือต่ำกว่าโดยเฉลี่ยที่จะเป็นโรคต้อหิน มะเร็งในลำคอ โรคเก๊าท์ ฯลฯ
(3) มีความเป็นไปได้ในระดับใดที่จะเป็นเบาหวานที่พัฒนาขึ้นตอนโต เป็นโรคเกี่ยวกับไต เป็นโรคจิตเภท เป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งในช่องปาก หัวใจวายเฉียบพลัน เป็นโรครูมาตอยน์ อ้วนเกินสมควรก่อนอายุ 59 ฯลฯ
(4) ลูกมีโอกาสมากเพียงใดที่มีศีรษะล้าน เป็น Parkinson”s Disease (มือไม้สั่น) มีน้ำหนักต่ำกว่าเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด ฯลฯ
(5) มีภูมิต้านทานมากน้อยเพียงใดต่อโรคมาเลเรีย/ ต่อ HIV/ การเสพติดสารเฮโรอีน/ การเป็นโรคซึมเศร้า ฯลฯ
นอกจากตัวอย่างข้างต้นนี้แล้ว การตรวจยังบอกความเป็นไปได้ในการเป็นโรคที่เกิดขึ้นยาก เช่น Crohn”s หรือ Lou Gehrig หรือ CJD (โรควัวบ้าในคน) หรือ Sjogren”s Syndrome ฯลฯ และบอกแม้กระทั่งว่าเป็นคนชอบกินหวานหรือไม่ เป็นคนประเภทขี้หูเปียกหรือแห้ง ถ้าบริโภคคาเฟอีนอาจเพิ่มโอกาสฮาร์ทแอ็ดแท็คที่ไม่ถึงกับตายได้ ถ้าร่างกายไม่แข็งแรงมีความเสี่ยงที่จะมีความดันโลหิตสูง ฯลฯ
พูดง่ายๆ ว่าอ่านแล้วรู้สึกอัศจรรย์ใจและรู้สึกกลัวที่จะตรวจเพราะไม่อยากรู้ความจริง ดังนั้นการวิพากษ์วิจารณ์ “23 and Me” ในเรื่องความแม่นยำและการตีความจึงมีน้ำหนักพอควร
สิ่งประดิษฐ์อีกชิ้นหนึ่งถึงแม้จะไม่อยู่ในอันดับสูงแต่ก็น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับ แฟนๆ หนังทีวีชุด CSI นั่นก็คือเทคนิคใหม่ในการหาลายนิ้วมือบนปลอกกระสุนปืนที่เช็ดจนสะอาดแล้วก็ตาม หลักการที่ John Bond นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษใช้ก็คือเหงื่อทำให้โลหะเกิดสนิม ดังนั้น เขาจึงผ่านกระแสไฟฟ้า และผงคาร์บอนละเอียด ลงบนปลอกกระสุนปืนที่มีสนิมซึ่งมองไม่เห็นและปรากฏรอยนิ้วมือขึ้น ขณะนี้ตำรวจหลายแห่งกำลังใช้เทคโนโลยีอายุ 4 เดือนนี้รื้อฟื้นคดีเก่าๆ ซึ่งในขณะนั้นเทคโนโลยียังไปไม่ถึง
ชิ้นที่สามคือซีเมนต์ที่กิน Smog (Fog + Smoke หรือหมอกควัน) ถ้าเอาสาร Photo-Catalyzer (หรือ Titanium Dioxide) ผสมลงไปในซีเมนต์เหลวตามปกติมันจะช่วยเร่งกระบวนการตามธรรมชาติที่ย่อยสลาย Smog
ที่เมือง Segrate ใกล้เมือง Milan ในอิตาลี มีการใช้ซีเมนต์ที่กิน Smog นี้ซึ่งมีชื่อว่า TX Active (บริษัทในอิตาลีชื่อ Italcement เป็นผู้พัฒนาขึ้นโดยใช้เวลาถึง 10 ปี) สร้างถนนจอแจสายหนึ่ง บริษัทยืนยันว่ามันช่วยลด nitric oxides ในบริเวณนั้นลงถึงร้อยละ 60 และอาคารที่สร้างด้วย TX Active ก็สะอาดอย่างคงทนอีกด้วย
ชิ้นที่สี่คือเครื่องมือสร้างพลังงานไฟฟ้าจากการเดิน เมื่อใช้เครื่องมือหนัก 1.6 กิโลกรัมพันเหนือแต่ละเข่าขณะเดินออกกำลังกาย ทั้งสองเครื่องจะร่วมกันผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงถึงประมาณ 5 วัตต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับโทรศัพท์มือถือ 10 เครื่องทีเดียว ไอเดียก็คือสามารถเอามาใช้เป็นพลังงานในการใช้ IPod หรือ PDA ได้อย่างสบาย
มนุษย์ปัจจุบันมีความรู้มากมายจนสามารถผลิตสิ่งประดิษฐ์มหัศจรรย์ได้ แต่กลับมีสามัญสำนึกและวิจารณญาณน้อยลง มียารักษาโรคเพิ่มขึ้นแต่ร่างกายแข็งแรงน้อยลง มีทรัพย์สมบัติมากขึ้นแต่มีเวลาหาความสุขจากมันน้อยลง และเห็นคุณค่าของมันน้อยลงด้วย เราเอาชนะข้างนอกได้แต่กลับแพ้ข้างใน
องุ่นเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี ปลูกกันมากกว่า 5,000 ปี สามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในเขตหนาว เขตกึ่งร้อนกึ่งหนาว และเขตร้อน สำหรับประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่านำเข้ามาในสมัยใด แต่พอจะเชื่อได้ว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้นำพันธุ์ไม้แปลกๆ จากต่างประเทศที่ได้เสด็จประพาสมาปลูกในประเทศไทย และเชื่อว่าในจำนวนพันธุ์ไม้แปลกๆ เหล่านั้นน่าจะมีพันธุ์องุ่นรวมอยู่ด้วยในสมัยรัชกาลที่ 7 มีหลักฐานยืนยันว่าเริ่มมีการปลูกองุ่นกันบ้างแต่ผลองุ่นที่ได้มีรสเปรี้ยว การปลูกองุ่นจึงซบเซาไป ต่อมาในปี 2493 ได้เริ่มมีการปลูกองุ่นอย่างจริงจัง โดย หลวงสมานวนกิจ ได้นำพันธุ์มาจากแคลิฟอร์เนีย และปี 2497 ดร.พิศ ปัญญาลักษณ์ ได้นำพันธุ์มาจากยุโรปซึ่งปลูกได้ผลเป็นที่น่าพอใจ นับแต่นั้นมาการปลูกองุ่นในประเทศไทยจึงแพร่หลายมากขึ้น
ปัจจุบันในประเทศไทยมีการปลูกองุ่นในแถบภาคตะวันตก เช่น อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้ดี แต่เกษตรกรบางรายได้เปลี่ยนจากองุ่นเป็นพืชอื่น เนื่องจากมีโรคแมลงระบาดมาก และแมลงดื้อยาไม่สามารถกำจัดได้ ทำให้พื้นที่ปลูกองุ่นในแถบนี้ลดลง พื้นที่ปลูกองุ่นได้ขยายไปในแถบภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้างเล็กน้อย ถึงแม้ว่าราคาจะเป็นแรงจูงใจ แต่ปัญหาเรื่องโรคแมลงระบาดมากทำให้พื้นที่ปลูกองุ่นไม่ค่อยขยายเท่าที่ควร

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
องุ่นถึงแม้จะไม่ใช่พืชเขตร้อน แต่จากสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย องุ่นสามารถเจริญเติบโตได้ดีจึงปลูกได้โดยทั่วไป ถ้าได้รับการตัดแต่งกิ่งก็สามารถออกดอกได้ดีเช่นเดียวกันกับองุ่นที่ปลูกในเขตหนาวสามารถให้ผลผลิตมากกว่า 1 ครั้งต่อปี และสามารถบังคับให้ผลองุ่นแก่ในฤดูใดของปีก็ได้ ในขณะที่องุ่นที่ปลูกในเขตหนาวให้ผลผลิตปีละครั้งและผลแก่ช่วงฤดูร้อนเท่านั้น แต่ควรระวังคือ ในสภาพดินฟ้าอากาศที่มีความชื้นสูงฝนตกชุกจะทำให้เกิดโรคระบาดอย่างรวดเร็วทำให้เสียหายแก่ใบ ต้น และผลองุ่นได้มาก จึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดโรคแมลงมากไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ถ้าฝนตกในตอนผลแก่จะทำให้ผลแตก คุณภาพของผลไม่ดี ดังนั้นสภาพภูมิอากาศจึงเป็นตัวจำกัดเขตการปลูกองุ่น และลักษณะการใช้ประโยชน์ เช่น ในประเทศไทยสามารถปลูกองุ่นรับประทานผลสดได้ดี โดยเฉพาะองุ่นที่แก่ในฤดูร้อน และฤดูหนาว แต่การที่จะปลูกองุ่นสำหรับทำเหล้าองุ่นให้มีคุณภาพดีๆ ยังสู้องุ่นในแถบยุโรปไม่ได้ ซึ่งสภาพภูมิอากาศมีผลต่อคุณภาพของผลผลิตเป็นสำคัญ ส่งนการเจริฐเติบโตของต้นไม่มีปัญหามากนัก นอกจากเขตที่มีอากาศร้อนจัดหรือหนาวจัดเกินไปต้นองุ่นอาจตายได้ จะเห็นว่าเขตปลูกองุ่นของโลกนั้นกว้างมาก สามารถปลูกได้ในพื้นที่สูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 6,000 ฟุต แต่แหล่งปลูกองุ่นที่มีคุณภาพดีมักอยู่ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 - 4,000 ฟุต